05 Jul 2020 19:30 น.
อ่าน 5,468 ครั้ง
ซีเมนส์เผย เมกะเทรนด์ เทคโนโลยีหลังวิกฤติโควิด-19 ระบุ Urbanization และ Digitalization ส่งผลให้ภาคธุรกิจต้องปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต พร้อมชูโมเดลผู้บริโภคผลิตไฟฟ้าใช้-ขายเองลดการผูกขาด
นางสุวรรณี สิงห์ฤาเดช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและซีอีโอ บริษัท ซีเมนส์ อินดัสเทรียล เปิดเผยว่า หลังจากเกิดวิกฤติโควิด-19 ซีเมนส์มองเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจาก 5 เมกะเทรนด์ หลักได้แก่ 1. Urbanization หรือการเติบโตของมหานคร โดยผู้คนจะมีการอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองมากขึ้น 2. Digitalization เทรนด์ด้านเทคโนโลยี ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันในอุตสาหกรรมสู่ อินดัสทรี 4.0 3. Globalization การค้าขายหรือโลกไร้พรมแดน 4. Demographic Change อายุเฉลี่ยของประชากรจะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในอนาคตคนอาจมีอายุได้มากกว่า 100 ปี 5. Climate Change สภาพ อากาศที่เปลี่ยนแปลงไป
ทั้งนี้ซีเมนส์ได้โฟกัสไปที่ 2 เมกะเทรนด์ คือ เทรนด์การเติบโตของมหานคร (Urbanization) และดิจิทัลไลเซชัน (Digitalization) โดยในอนาคตจะมีอาคารพูดได้ (Building can talk) ซึ่งอาคารจะเชื่อมโยงและกลายเป็นส่วนสำคัญของระบบพลังงานไฟฟ้า สามารถเข้าใจผู้ใช้งาน โต้ตอบ เรียนรู้และปรับตัวได้ ด้วยการใช้ Building information modelling (BIM) และเทคโนโลยีดิจิทัลทวิน(Digital twins) ที่ช่วยให้สามารถเห็นภาพจำลองด้านดิจิทัลของอาคารล่วงหน้าในทุกมิติ ทำให้การออกแบบเสมือนจริงมากที่สุด รวมถึงการบริหารจัดการอาคารจำกัดจำนวนคนภายในอาคาร เพื่อสอดรับกับสถานการณ์ของโควิด-19 และ Social Distancing รวมถึงการควบคุมอุณหภูมิภายใน อาคารผ่านแอพพลิเคชันจากระยะไกล
- อานิสงส์โควิด ไทยลุ้นแซงเบลเยียม ผงาดท็อป 10 อาหารโลก
- “เยียวยาเกษตรกร” เคว้งเปลี่ยนหัวหน้าครัวเรือน หวั่นชวด “เยียวยา5,000”
- “ธนกร”ซัด”ธนาธร”ปลุกม็อบสร้างความขัดแย้งซ้ำเติมประเทศ
อีกทั้งในอนาคตการผลิตไฟฟ้าเพื่อซื้อขายจะเป็นการกระจายจากศูนย์กลาง (Decentralized energy) โดยอาคารจะสามารถผลิตพลังงานได้ด้วยตัวเองจากพลังงานทดแทน รวมถึงผู้บริโภคจะกลายเป็น Prosumer คือ เป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้ไฟฟ้า ถ้าไฟฟ้าไม่พอจึงค่อยซื้อไฟฟ้าเพิ่มจากการไฟฟ้า หรือถ้ามีเหลือก็สามารถขายได้ผ่านเทคโนโลยีบล็อกเชน ซึ่งมีต้นแบบจากประเทศฟินแลนด์ที่ได้ทำโมเดลนี้แล้ว รวมถึงมีเทคโนโลยีสมาร์ทกริดเพื่อช่วยในการบริหารจัดการไฟฟ้า และในมุมของระบบสาธารณูปโภค การบริหารงานบำรุงรักษาสถานีไฟฟ้าเพื่อให้เมืองยังดำเนินงานได้ตามปกติ ก็สามารถทำได้จากระยะไกลผ่านมือถือ หรือแม้แต่การบันทึกข้อมูลมิเตอร์ก็สามารถนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการบันทึกข้อมูลการใช้ไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ สำหรับในประเทศไทยโมเดลการซื้อขายไฟฟ้านั้นยังบอกไม่ได้ว่าจะเกิดขึ้นภายในกี่ปี เพราะเรื่องของเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่คาดเดายาก แต่ปัจจุบันคนไทยก็เริ่มยอมรับเทคโนโลยีได้รวดเร็วขึ้นเนื่องจากสถานการณ์ของโควิด-19
ขณะที่ Digitalization คืออีกหนึ่งเมกะเทรนด์ที่วิกฤติโควิด-19 เป็นตัวเร่งให้เกิดการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรม การนำเทคโนโลยี และระบบออโตเมชัน เข้ามาใช้ในอุตสาหกรรม กลายเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อ ความอยู่รอดของธุรกิจ เนื่องจากอุตสาหกรรมในปัจจุบันยังพึ่งพาแรงงานคนเป็นหลัก เมื่อเกิดวิกฤติที่คนไม่สามารถไปทำงานได้ จึงส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมารผลิตและซัพพลายเชน ดังนั้นการเริ่มทำ Industry 4.0 assessment คือสิ่งจำเป็นที่อยากให้ผู้ประกอบการได้เริ่มตรวจเช็กว่าโรงงานอยู่ในขั้นไหนของการพัฒนาสู่ Industry 4.0 แล้ว โดย มี 3 หัวข้อหลักๆ ได้ แก่ 1. กระบวนการ (process) ว่าธุรกิจของเรา มีขบวนการผลิตยังไง 2. เทคโน โลยี (technology) เราได้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้บ้างหรือไม่ และ 3. โครงสร้างบริษัท (Organization) ที่ต้องสอดคล้องกับการทำงานของเทคโนโลยี รวมถึงทักษะของบุคลากร และการทำ reskill อีกด้วย”
“เพราะวิกฤติจะ เกิดขึ้นอีกแน่นอน นี่คือโอกาสที่ธุรกิจจะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ในอนาคต และเทคโนโลยี คือ คำตอบ”
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3,589 หน้า 16 วันที่ 5 – 8 กรกฎาคม 2563
ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อน กับ LINE @thansettakij