บริษัท ไอแอนด์ไอ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ IIG ธุรกิจที่ปรึกษาด้านดิจิทัล รวมถึงออกแบบติดตั้งระบบให้กับธุรกิจ กำลังจะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ในวันที่ 6 ส.ค.นี้
ดังนั้น สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย จึงได้สรุปข้อมูลที่สำคัญจากแบบไฟลิ่ง เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของนักลงทุน
1.ดำเนินธุรกิจที่ปรึกษาด้านดิจิทัล และเทคโนโลยีให้ภาคธุรกิจ
บริษัท ไอแอนด์ไอ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ IIG ประกอบธุรกิจที่ปรึกษาด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีให้แก่ภาคธุรกิจต่างๆ แบ่งประเภทธุรกิจ และมีสัดส่วนรายได้ในปี 62 ดังนี้
1) ธุรกิจที่ปรึกษาและให้บริการออกแบบติดตั้งระบบบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM) และให้เช่าใช้ระบบซอฟต์แวร์จากทาง Salesforce สัดส่วนรายได้ 55.32%
2) ธุรกิจที่ปรึกษาและให้บริการออกแบบติดตั้งระบบวางแผนทรัพยากรองค์กร (ERP) และเป็นตัวแทนจำหน่ายระบบซอฟต์แวร์จากทาง Oracle สัดส่วนรายได้ 36.90%
3) ธุรกิจที่ปรึกษาด้านการวางแผนกลยุทธ์แบรนด์ (Brand Strategy) การสร้างและบริหารประสบการณ์ (Experience Management) และการตลาดดิจิทัล (Digital Marketing) สัดส่วนรายได้ 0.94%
4) ธุรกิจให้บริการจัดหาบุคลากร ในส่วนงานสารสนเทศ สัดส่วนรายได้ 6.51%
2.เคาะราคาไอพีโอ 6.60 บาท คิดเป็น P/E 12.05 เท่า จากอุตสาหกรรมที่ 9.57 – 32.93 เท่า
IIG กำหนดราคาเสนอขายหุ้นไอพีโอที่ 6.60 บาทต่อหุ้น โดยพิจารณาจากอัตราส่วนราคาหุ้นต่อกำไรสุทธิต่อหุ้นของบริษัท(P/E) ซึ่งราคาไอพีโอคิดเป็น P/E เท่ากับ 12.05 เท่า คำนวณจากกำไรสุทธิต่อหุ้น(EPS)จากผลกำไรสุทธิในช่วง 4 ไตรมาสย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 62 – 31 มี.ค. 63 ซึ่งเท่ากับ 0.55 บาทต่อหุ้น
โดยปัจจุบันมีบริษัทที่มีลักษณะการประกอบธุรกิจที่คล้ายกับ IIG ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตลาดเอ็ม เอ ไอ ทั้งหมด 3 บริษัท และมี P/E ดังนี้
1)บริษัท แอพพลิแคด จำกัด (มหาชน) หรือ APP มี P/E อยู่ที่ 9.57 เท่า
2)บริษัท สามารถเทลคอม จำกัด (มหาชน) หรือ SAMTEL มี P/E อยู่ที่ 10.16 เท่า
3)บริษัท ฮิวแมนิก้า จำกัด (มหาชน) หรือ HUMAN มี P/E อยู่ที่ 32.93 เท่า
IIG ขายหุ้นไอพีโอ : ทั้งหมดไม่เกิน 25,000,000 หุ้น คิดเป็น 25% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด
มีจำนวนหุ้นหลังเสนอขายไอพีโอที่อยู่ที่ : 100,000,000 หุ้น
เข้าจดทะเบียนด้วยวิธี : เกณฑ์กำไรสุทธิ (Profit Test)
มูลค่าที่ตราไว้(พาร์) : 0.50 บาท/หุ้น
มูลค่าทางบัญชี : 4 บาท/หุ้น (คำนวณ ณ วันที่ 31 ธ.ค.62)
เข้าซื้อขายใน : ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) วันที่ 6 ส.ค.63
หมวดธุรกิจ : เทคโนโลยี (Technology)
ที่ปรึกษาทางการเงิน : บริษัทหลักทรัพย์(บล.) โนมูระ พัฒนสิน จำกัด (มหาชน)
ผู้ร่วมจัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย : บล.กรุงไทย ซีมิโก้, บล.โกลเบล็ก, บล.คันทรี่ กรุ๊ป, บล.ฟินันเซีย ไซรัส, บล.ฟิลลิป(ประเทศไทย)
สัดส่วนการเสนอขายหุ้น
1) เสนอขายต่อบุคคลตามดุลยพินิจของผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ 18,770,000 หุ้น หรือ 75% ของจำนวนหุ้นที่เสนอขาย
2)เสนอขายต่อกรรมการ ผู้บริหาร และ/หรือพนักงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อย 6,230,000 หุ้น หรือ หรือ 25% ของจำนวนหุ้นที่เสนอขาย
3.หลังไอพีโอผู้ถือหุ้นกลุ่มเดิมยังถือหุ้นแน่น
ภายหลังการขายหุ้นไอพีโอผู้ถือหุ้นใหญ่ทุกรายยังมีจำนวนหุ้นที่ถือเท่าเดิม โดยมีกลุ่มเมฆะสุวรรณโรจน์, กลุ่มโพธิรัตน์สมบัติ, กลุ่มรักอำนวยกิจ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ดังนี้
4.มีนโยบายปันผลไม่ต่ำกว่า 50% ของกำไรสุทธิ
บริษัทฯ มีนโยบายในการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น ในอัตราไม่ต่ำกว่า 50% ของกำไรสุทธิของงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัทฯ ในแต่ละปี ภายหลังจากหักภาษีและเงินทุนสำรองตามกฎหมายและทุนสำรองอื่น
5.เตรียมนำเงินลงทุนตั้งศูนย์พัฒนาซอฟต์แวร์
บริษัทฯ มีวัตถุประสงค์ในการนำเงินที่ได้จากการเสนอขายหลักทรัพย์ครั้งนี้หลังหักค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์เป็นจำนวนเงินสุทธิประมาณ 155.56 ล้านบาท ไปใช้ดังต่อไปนี้
6.รายได้เติบโตต่อเนื่อง ส่วนกำไรสุทธิผันผวนในปี 60 – 3M63
รายได้และกำไรสุทธิของ IIG ตั้งแต่ปี 60 – 62 เป็นดังนี้
ปี 60 | ปี 61 | ปี 62 | 3M63 | |
รายได้(ลบ.) | 175 | 204 | 396 | 109 |
กำไรสุทธิ(ลบ.) | 23 | 18.2 | 47.7 | 10 |
อัตรากำไรสุทธิ(%) | 13.14% | 8.9% | 12.04% | 9.34% |
รายได้ของบริษัทที่เติบโตในปี 60 – 61 มาจากรายได้การให้เช่าระบบซอฟต์แวร์จาก Salesforce ให้ลูกค้าในกลุ่มธนาคาร เช่น ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย รวมถึงธนาคารเกียรตินาคิน และ ไทยประกันชีวิต ส่วนรายได้ที่เร่งตัวขึ้นในปี 62 มาจากการเข้าซื้อหุ้นบริษัทที่ประกอบกิจการให้เช่าระบบซอฟต์แวร์จาก Oracle เข้ามา
ส่วนกำไรสุทธิที่หดตัวลงในปี 61 มาจากค่าใช้จ่ายในการพัฒนาพนักงาน เพื่อรองรับการขยายตัวของบริษัทในอนาคต และมีค่าใช้จ่ายในการเตรียมตัวจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
7.มี D/E เพียง 0.48 เท่า หนี้ส่วนใหญ่เป็นหนี้สินหมุนเวียนและเจ้าหนี้การค้า
IIG มีระดับ D/E ณ สิ้นปี 62 อยู่ที่ 0.48 เท่า หนี้สินของบริษัทส่วนใหญ่ มาจากหนี้สินหมุนเวียนที่เกิดจากการประกอบธุรกิจ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายได้รับล่วงหน้าที่จะรับรู้เป็นรายได้ภายในหนึ่งปี เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น
งบแสดงฐานะการเงิน IIG ณ สิ้นปี 62 ดังนี้
สินทรัพย์รวม : 445 ลบ.
หนี้สินรวม : 145 ลบ.
ส่วนของผู้ถือหุ้น : 300 ลบ.
อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนผู้ถือหุ้น (D/E) : 0.48 เท่า
อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) : 18.35%
อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) : 29.38%
8.สัดส่วนหุ้นของ “ผู้มีส่วนร่วมในการบริหาร” ที่ไม่ติด Silent Period จำนวน 13,872,000 หุ้น หรือ 13.87%
สัดส่วนหุ้นของ “ผู้มีส่วนร่วมในการบริหาร” ที่ไม่ติด Silent Period จำนวน 13,872,000 หุ้น คิดเป็น 13.87% ของจำนวนหุ้นที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนในครั้งนี้