บริษัทหลักทรัพย์(บล.)เคจีไอ(ประเทศไทย)วิเคราะห์หุ้นบริษัทปูนซิเมนต์ไทย หรือ SCC กำไรสุทธิของ SCC ใน 2Q63 อยู่ที่ 9.6 พันล้านบาท (+33.2% YoY, +34.6% QoQ) ดีกว่าประมาณการของเรา 7.7% แต่เป็นไปตาม Bloomberg consensus เนื่องจากธุรกิจปูนซีเมนต์ วัสดุก่อสร้าง และเคมีภัณฑ์ดีกว่าคาด กำไรสุทธิใน 1H63 คิดเป็น 50.8% ของประมาณการกำไรปีนี้ของเรา บริษัทประกาศจ่ายเงินปันผลงวด 1H63 ที่ 5.50 บาท/หุ้น (กำหนดขึ้น XD วันที่ 13 สิงหาคม 2563) คิดเป็นอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลที่ 1.4% กำไรที่เพิ่มขึ้น YoY เพราะไม่มีค่าใช้จ่ายชดเชยพนักงาน กำไรที่เพิ่มขึ้น QoQ เป็นเพราะ spread เคมีภัณฑ์ขยับเพิ่มขึ้น
i) กำไรจากธุรกิจเคมีภัณฑ์ (48.6% ของกำไรใน 2Q63) เพิ่ม 156.7% QoQ เนื่องจาก i) ปริมาณยอดขาย polyolefin อยู่ที่491,000 kt (+4% YoY,+17% QoQ) เพราะมีการระบายสต๊อก และ ii) spread ของ HDPE และ PP เพิ่มขึ้น (+22% และ 9% ตามลำดับ)
ii) กำไรจากธุรกิจปูนซีเมนต์-วัสดุก่อสร้าง (20.7% ของกำไรใน 2Q63) ลดลง 30.0% QoQ เพราะขาดทุนด้อยค่าจากสินทรัพย์ในอินโดนีเซีย 700 ล้านบาท เพราะถูกกระทบจาก COVID-19 แต่หากไม่รวมกำไรจากธุรกิจหลักจะทรงตัว QoQ เพราะประสิทธิภาพการดำเนินงานดีขึ้น และต้นทุนพลังงานที่ลดลงหักล้างไปกับอุปสงค์ที่อ่อนแอในช่วง lockdown
iii) กำไรจากธุรกิจบรรจุภัณฑ์ (20.3% ของกำไรใน 2Q63) เพิ่มขึ้น 9.9% QoQ เป็น 1.9 พันล้านบาท เนื่องจากมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่รับรู้จาก PT Fajar (500 ล้านบาท) และมีกำไรจากการปรับกฎหมายภาษีที่อินโดนีเซีย (200 ล้านบาท) เราคาดว่ากำไรจากธุรกิจหลักจะลดลง 35.6% QoQ เหลือ 1.35 พันล้านบาท เพราะสายธุรกิจ Fibrous ถูกกระทบจาก lockdown และอุปสงค์บรรจุภัณฑ์กระดาษจากกลุ่มสินค้าคงทนลดลงอย่างมาก
เพิ่มประมาณการกำไรสุทธิปี 2564 ขึ้น 21.1%
เราคงประมาณการปี 2563 (ปรับ chemical spread ขึ้น ชดเชยด้วยค่าใช้จ่ายในการปิดซ่อมใหญ่) และปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 2564 ขึ้น 21.1% เนื่องจากเราปรับสมมุติฐานของธุรกิจเคมีภัณฑ์ โดยปรับ spread ของ HDPE ขึ้นอีก 25% เป็น US$500/t และปรับ spread ของ PP ขึ้นอีก 1.6% เป็น US$570/t เนื่องจากเราพบว่า spread ของ HPDE มีแนวโน้มทรงตัวหลังจากผ่านจุดต่ำสุดที่ระดับต่ำกว่า US$400/t
เราปรับเพิ่มคำแนะนำจากขายเป็นถือ และปรับเพิ่มราคาเป้าหมาย 1H64 เป็น 388 บาท เรามองว่าผลประกอบการใน 2H63 มีแนวโน้มจะลดลง HoH เนื่องจาก i) มีการตุนสต๊อก polyolefin สำหรับการซ่อมบำรุงใหญ่ของ MOC (45 วัน) ii) คาดว่าต้นทุน naphtha จะสูงขึ้น และ iii) ความไม่แน่นอนของอุปสงค์สินค้าคงทนซึ่งคาดว่าจะใช้ฟื้นตัวนาน ทั้งนี้การขยายกำลังการผลิต MOC คงตามแผนใน 1H64
ปัจจัยเสี่ยงจากความล่าช้าของก่อสร้างภาครัฐ ต้นทุนพลังงานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และความผันผวนของ spread เคมีภัณฑ์
ที่มา : บล.เคจีไอ(ประเทศไทย)