บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย จำกัด (มหาชน) ระบุในบทวิเคราะห์ว่า บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT, บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน) หรือ SCC, บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT, บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF และ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL ซึ่งเป็นหุ้นบลูชิพที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวมกันถึง 23% ของมูลค่าหลักทรัพย์ทั้งหมดในตลาดจะเป็นตัวขับเคลื่อนตลาดในไตรมาสที่ 4/63
โดย PTT, GULF และ CPALL เป็นหุ้นพื้นฐานแกร่ง โดยเฉพาะ PTT ที่จะสร้างมูลค่าได้สูงขึ้นจากการนำ OR เข้าตลาดหลักทรัพย์ นอกจากนั้นยังเป็นหุ้นในธุรกิจพลังงานที่มีการกระจายความเสี่ยงจากธุรกิจปิโตรเคมีตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ส่วน SCC มีปัจจัยบวกจากการนำธุรกิจบรรจุภัณฑ์เข้าตลาดฯ อีกทั้งยังมีธุรกิจหลักอย่างซีเมนต์ วัตถุดิบก่อสร้าง และเคมี อยู่ในพอร์ตด้วยเช่นกัน
ขณะเดียวกัน AOT ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการสนามบิน 6 แห่งในประเทศไทย มีการเซ็นสัญญาสัมปทานฉบับใหม่กับ King Power รวมไปถึงอาคารเทียบเครื่องบินรองที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2565 และทางบริษัทยังมีแผนเพิ่มรายได้จากธุรกิจอื่นๆนอกจากการบิน เช่นการสร้างแอร์พอร์ตซิตี้ และ สร้างศูนย์กลางการบินของภูมิภาค
ด้าน GULF ซึ่งเป็นหุ้นที่มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในสองปีที่ผ่านมา และยังเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีการเติบโตของรายได้ที่เห็นได้ชัดมากกว่าบริษัทอื่นๆในธุรกิจเดียวกัน โดยบริษัทตั้งเป้ากำลังการผลิตตามสัดส่วนที่ถือครองแตะ 6.3GW ในปี 2567 จากประมาณการ CAGR ที่เพิ่มขึ้น 18% จาก 1) ต้นทุนก๊าซที่คาดกว่าจะลดลง 2) การนำเข้า LNG ที่เพิ่งได้รับใบอนุญาต 3) โปรเจควินฟาร์มนอกชายฝั่ง Borkum Riffgrund 2 นอกจากนั้นแล้ว บริษัทการเพิ่มทุน 10% ของ GULF จะช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าทำธุรกิจในอนาคต
ขณะที่ในส่วนของ CPALL ที่เป็นผู้ครองตลาดค้าส่ง และค้าปลีกในประเทศไทย มองว่าธุรกิจดังกล่าวยังสามารถเติบโตได้อีก และคาดว่า CPALL จะสามารถขยายร้านค้าได้ 700 ร้าน/ปี ตามเป้าหมาย โดยจะมีร้านค้าทั้งสิ้น 13,000 ร้าน ณ สิ้นปี 2564 นอกจากนี้ CPALL ยังวางแผนที่จะเพิ่มอัตรากำไรขั้นต้นราว 0-20 จุด (bp) จากเดิมอยู่ที่ 26-27% โดยเน้นอาหารพร้อมทานที่มีมาร์จิ้นสูง
อย่างไรก็ตาม ในระยะสั้นกำไรของ CPALL อาจเกิดไดลูชั่นเอฟเฟค (Dilution Effect) ราว 1.8-2.0% จากการเข้าซื้อธุรกิจเทสโก้ แต่ทาง บล.ฟินันเซีย เชื่อว่าทาง กลุ่ม ซีพี จะสามารถปรับแผนงาน และยุทธ์ที่เหมาะสม เพื่อทำให้ได้กำไรจากการดำเนินงานของเทสโก้สูงที่สุด
ทั้งนี้ บล.ฟินันเซีย คงมุมมอง Overweight (แข็งแกร่ง) ต่อ SET Index คาดดัชนีแตะ 1,550 จุดในปลายปี 2564 บนพื้นฐาน P/E ที่ 18.2x หรือ +0.5 SD จาก 1) กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กลับมาดำเนินการได้เร็วกว่าปกติ 2) ความมั่นใจของนักลงทุนจากความสามารถในการควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคิด-19ของไทย 3) มีกระแสเงินที่หมุนเวียนในประเทศก่อนที่เศรษฐกิจจะฟื้นตัว
สำหรับหุ้นแนะนำ มีดังนี้
EA – ซื้อ ราคาเป้าหมาย 55 บาท โดยมองว่าตลาดยังประเมิน EA ต่ำไป โดนบริษัทมีการเติบโต S-curve จากธุรกิจ EV หลายประเภท ทั้งรถยนต์ เรือเฟอร์รี่ และ รถบัส รวมไปถึงสถานีชาร์จไฟ และธุรกิจแบตเตอรี่ โดย P/E นั้นอยู่ที่ 22x ซึ่งต่ำกว่ากลุ่มพลังงานที่อยู่ที่ 45x ในขณะที่มี ROE อยู่ที่ 27% สูงสุดในกลุ่มพลังงาน
TASCO – ซื้อ ราคาเป้าหมาย 29 บาท โดยมีสามปัจจัยหลักส่งผลต่อกำไรของ TASCO ในระยะยาว คือ 1) มีการกระจายความเสี่ยงด้วยการทำสัญญาซื้อน้ำมันดิบจากผู้ขายหลายเจ้า จากเดิมเพียงเจ้าเดียว เพื่อลดความเสี่ยงกรณีต้นทุนราคาน้ำมันดิบสูง 2) ยอดขายยางมะตอยคาดเพิ่มสูงขึ้นถึง 450-550kt ใน 2Q/63 และ 550-600kt ใน 3Q/63 จากยอดขาย 249kt ใน 1Q/63 3) ยางมะตอยดิบมีมาร์จิ้นที่ดี และราคายางมะตอยที่คาดจะสูงถึง 4Q/63
STGT – ซื้อ ราคาเป้าหมาย 111 บาท โดยมองว่าธุรกิจกำลังอยู่ในช่วงที่รุ่งเรือง ได้รับปัจจัยบวกจากราคาถุงมือยางที่เพิ่มขึ้น 10–20% m-m โดยคาดว่าจะมีกำไรสุทธิที่แข็งแกร่ง และคงที่ในปี 2563-2565 จาก 1) ยอดขายที่เพิ่มขึ้น 2) ความสามารถในการแข่งขันด้านต้นทุน 3) การขยายของมาร์จิ้น 4) อัตราแลกเปลี่ยน THB/USD
MAKRO – ซื้อ ราคาเป้าหมาย 50 บาท โดยมองว่า MAKRO เป็นร้านค้าปลีกในรูปการขายส่งที่ใหญ่ที่สุดในไทย ซึ่ง บล.ฟินันเซีย เชื่อว่าส่วนแบ่งการตลาดของ MAKRO จะเพิ่มขึ้นโดยได้ส่วนแบ่งมาจากตลาดสด คล้ายคลึงกับ 7-11 และร้านขายของชำ เนื่องจาก MAKRO เป็นร้านค้าที่ให้บริการครบวงจร ทั้งอาหารสด อาหารแห้ง และสินค้าที่ไม่ใช่อาหาร (อุปกรณ์ทำครัว ต่างๆ) ซึ่งจำหน่ายให้ทั้งลูกค้าทั่วไป และร้านอาหาร โรงแรม หรือคาเฟ่ต่างๆ นอกจากนั้น MAKRO ยังมี P/E ปี 2564 อยู่ที่ 28 เท่า เทียบกับค่าเฉลี่ยในกลุ่มที่ 32 เท่า และยังมี ROE 32% ที่สูงสุดในกลุ่มค้าปลีก
MTC – ซื้อ ราคาเป้าหมาย 70 บาท โดย บล.ฟินันเซีย ยกให้ MTC เป็นหุ้นที่น่าลงทุนมากที่สุดในกลุ่มลิสซิ่งจาก 1) คุณภาพของสินทรัพย์แข็งแกร่ง และ NPL ในระดับต่ำที่ 1.18% 2) มีดีมานด์สินเชื่อที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ บล. ฟินันเซีย คาดว่ากำไรจากธุรกิจหลักของ MTC ในปีนี้จะเพิ่มขึ้น 15% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
GULF – ซื้อ ราคาเป้าหมาย 47 บาท โดย GULF เป็นหุ้นที่มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในสองปีที่ผ่านมา และยังเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีการเติบโตของรายได้ที่เห็นได้ชัดมากกว่าบริษัทอื่นๆในธุรกิจเดียวกัน โดยบริษัทตั้งเป้ากำลังการผลิตตามสัดส่วนที่ถือครองแตะ 6.3GW ในปี 2567 จากประมาณการ CAGR ที่เพิ่มขึ้น 18% ผลักดันโดย 1) ต้นทุนก๊าซที่คาดกว่าจะลดลง 2) การนำเข้า LNG ที่เพิ่งได้รับใบอนุญาต 3) โปรเจควินฟาร์มนอกชายฝั่ง Borkum Riffgrund 2 นอกจากนั้นแล้ว บริษัทการเพิ่มทุน 10% ของ GULF จะช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าทำธุรกิจในอนาคต