“ยรรยง มุนีมงคลทร” เปิดวิสัยทัศน์ ในตำแหน่งผู้อำนวยการบริหารชาวไทยคนแรก ของภูมิภาคนี้ และคนแรกในรอบ 30 ปี ของ เอปสัน ประเทศไทย
เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา เอปสัน สิงคโปร์ สำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น ได้แต่งตั้ง “ยรรยง มุนีมงคลทร” ขึ้นดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการบริหาร บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ตั้งขึ้นใหม่ จากเดิมที่มีเพียงตำแหน่ง ผู้จัดการทั่วไป
นายยรรยง มุนีมงคลทร ผู้อำนวยการบริหาร บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า วิสัยทัศน์การดำเนินธุรกิจในปี 2563 นี้ เอปสันจะเร่งเพิ่มความพร้อมในการทำธุรกิจเชิง B2B มากขึ้น ด้วยการเพิ่มสัดส่วน ในด้านการขายและการตลาด ไปที่กลุ่มธุรกิจ B2B เมื่อเทียบกับ B2C เป็น 30:70 จากเดิมที่เป็น 25:75
ทั้งนี้ บริษัทจะเน้นการขายในรูปแบบที่เป็นโซลูชั่น ที่สามารถแก้ปัญหาของลูกค้า ได้ตรงจุด มากกว่าที่จะแยกขายสินค้าเป็นเครื่องๆ รวมถึงสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ในรูปแบบ Printer as a Service ออกมานำเสนอเพิ่มมากขึ้น
การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลต่อวงจรธุรกิจ และการลงทุนเกือบทั้งหมดของประเทศ ทั้งยังเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้จ่าย และการใช้ชีวิตของผู้คน ตลาดไอทีในช่วงสี่เดือนแรกก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม พบว่า ในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายนที่ผ่านมา ตลาดไอที กลับฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากรัฐบาลประกาศคลายล็อค และผู้คนหันมาซื้อสินค้าไอที เพื่อรองรับการทำงาน และการเรียนผ่านระบบออนไลน์จากที่บ้าน อีกทั้งหน่วยงานราชการ ก็เริ่มกลับมาจัดซื้ออุปกรณ์สำนักงานมากขึ้น
ในส่วนของเอปสัน ยังคงตั้งเป้ารักษาระดับการเติบโตเท่ากับปีที่แล้ว โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มอิงค์เจ็ทพรินเตอร์ เพื่อธุรกิจองค์กร และธุรกิจถ่ายเอกสาร และสินค้าอิงค์เจ็ทพรินเตอร์ เพื่องานพิมพ์เชิงพาณิชย์ และอุตสาหกรรมสิ่งทอ ธุรกิจป้ายโฆษณา โฟโต้แล็บ และธุรกิจสินค้าแฟชั่นและเฟอร์นิเจอร์
สำหรับโปรเจ็คนำร่อง ที่เปิดตัวไปแล้ว อย่างบริการผู้ช่วย Epson EasyCare 360 สำหรับกลุ่มลูกค้าที่ใช้ Epson WorkForce ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้งานองค์กรสามารถบริหารค่าใช้จ่ายโดยรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยปราศจากความกังวลเรื่องการดูแลบำรุงรักษา ทั้งด้านความพร้อมของอุปกรณ์ รวมถึงวัสดุสิ้นเปลืองต่างๆ อาทิ หมึกพิมพ์ หรือบริการ Epson EasyCare Mono สำหรับกลุ่มลูกค้า Epson EcoTank M-series ที่สามารถเช่าเครื่องพร้อมหมึกแบบเหมาจ่ายรายเดือน
นอกจากนี้ ที่ผ่านมาบริษัทได้เตรียมความพร้อมใน 3 มิติมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แนวทางการทำธุรกิจในเชิง B2B ประสบความสำเร็จในระยะยาว
มิติแรก การปรับเปลี่ยนกระบวนการดำเนินงานภายในองค์กร ตั้งแต่ด้านระบบการเงินการบัญชี ระบบแบ็คออฟฟิศเพื่อสนับสนุนการขาย การจัดจ้างบุคลากรใหม่ การเทรนนิ่งพนักงาน เพื่อรองรับการทำธุรกิจกับลูกค้า B2B
มิติที่สอง การพัฒนา และสร้างเครือข่ายตัวแทนจำหน่าย ให้สามารถเจาะตลาด B2B ได้กว้างและลึกยิ่งขึ้น ทั้งในภาคราชการ และเอกชน ผ่านการฝึกอบรมรวมถึงรับตัวแทนจำหน่ายสมัครรายใหม่
มิติที่สาม การนำเสนอคุณค่า (Value Proposition) 4 ประการ ให้แก่ลูกค้าองค์กร หรือ LEAD ซึ่งเน้นการแก้ไขเพนพอยต์และตอบโจทย์ความต้องการด้านการพิมพ์งานภายในองค์กร ได้แก่
- Low total cost of ownership หรือต้นทุนการเป็นเจ้าของที่ถูกลง
- Eco-friendly environment หรือความเป็นมิตรต่อสุขภาพของผู้ใช้และสิ่งแวดล้อมในองค์กร
- Advanced performance หรือประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์กรที่ดีขึ้น
- Digital transformation หรือศักยภาพขององค์กรในการเปลี่ยนถ่ายสู่เทคโนโลยีดิจิทัล
ที่ผ่านมา เอปสัน ได้เพิ่มน้ำหนักการทำธุรกิจในเชิง B2B มากขึ้น ตั้งแต่ปี 2560 และได้เปลี่ยนแนวทาง ในการขายและการทำตลาด จนสินค้าอิงค์เจ็ทพรินเตอร์ ของเอปสัน สามารถเจาะเข้าไปยังองค์กรธุรกิจ และหน่วยงานราชการ รวมถึงสถาบันการศึกษาได้มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่เป็นการเข้าไปแทนที่เลเซอร์พรินเตอร์ในสำนักงาน
นอกจากนี้ ในกลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรม โดยเฉพาะสิ่งทอ แฟชั่น และเฟอร์นิเจอร์ รวมถึงโรงพิมพ์ ก็หันมาลงทุนกับอิงค์เจ็ทพรินเตอร์ระดับมืออาชีพของเอปสันเพิ่มขึ้น ตามกระแส Digital transformation และความจำเป็นที่ต้องปรับตัว เพื่อรองรับงานประเภทออนดีมานด์
อ่านข่าวเพิ่มเติม
- เอปสัน ดัน ‘ยรรยง’ ขึ้นผู้อำนวยการบริหาร ชาวไทย ‘คนแรก’ ในภูมิภาค
- ‘เอปสัน’ จัดเต็มริจินัลแคมเปญ หนุนธุรกิจสิ่งพิมพ์ ‘ฝ่าดิสรัปชั่น’
- เร่งติดอาวุธ ‘ไอที’ ตัวช่วยธุรกิจ เสริมภูมิคุ้มกันต้าน ‘โควิด-19’
Add Friend Follow