เปิดรายละเอียดคู่มือการจัดการแข่งขันกีฬาฟุตบอล ภายใต้มาตรการผ่อนปรนกิจการและกิจกรรมด้านการกีฬาเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด –19
จากการที่ ศูนย์บริหารสถานการณ์ฉุกเฉินโควิด-19 (ศบค.) ทำการออกคู่มือการจัดการแข่งขันกีฬาฟุตบอลอย่างเป็นทางการ ในช่วงสถานการณ์ที่ไวรัสโควิด-19 ระบาด กำหนดให้แข่งขันแบบปิด ไม่มีแฟนบอลเข้าชม และอนุญาตให้บุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถเข้าสนามได้ไม่เกิน 250 คน
โดยในรายละเอียดของคู่มือการปฏิบัติตามมาตรการผ่อนปรนกิจการและกิจกรรมด้านการกีฬาเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 การแข่งขันกีฬาฟุตบอล(แบบไม่มีผู้ชมในสนามแข่งขัน)แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้จัดการแข่งขัน มีดังนี้
-
เปิดคู่มือแข่งไทยลีกศบค. จำกัดในสนามไม่เกิน 250 คน
-
คูเอสต้า ก็ไม่รอด บุรีรัมย์ ยกเครื่องต่างชาติใหม่ทั้งหมด
-
ส.บอล แจ้งความคืบหน้าประสานรัฐบาล นำแข้งต่างชาติไทยกลับไทย
1.การเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ป้องกันโรค
1.1 ลงทะเบียนเพื่อจัดกิจกรรมและยืนยันการปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันโรคผ่านแอปพลิเคชัน “ไทยชนะ”และแพลตฟอร์ม “สปิริต”ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
1.2 จัดให้มีระบบลงทะเบียนก่อนเข้าและออกจากสถานที่โดยใช้แอปพลิเคชัน “ไทยชนะ”พร้อมทั้งชี้แจงพนักงานและให้คำแนะนำกับผู้เข้าร่วมกิจกรรมลงทะเบียนก่อนเข้าและออกจากสถานที่หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูล จัดให้มีระบบลงทะเบียนก่อนเข้าและออกจากสถานที่และรายงานทดแทน เช่น แบบลงทะเบียนก่อนเข้าและออกจากสถานที่กรณีผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่มีสมาร์ทโฟน เพื่อประโยชน์ต่อการติดตามกรณีพบผู้ป่วยและผู้สัมผัสที่เข้าร่วมกิจกรรม
1.3 จำกัดทางเข้าและออกเพียงช่องทางเดียว และจัดให้มีจุดตรวจคัดกรองอาการไข้ไอ หอบเหนื่อย เป็นหวัด สำหรับผู้ประกอบการ พนักงานผู้ฝึกสอนนักกีฬา และผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน ก่อนเข้าปฏิบัติงานและเข้าร่วมกิจกรรมพร้อมจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับการคัดกรอง เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิ สติ๊กเกอร์สัญลักษณ์แสดงการคัดกรองผ่าน
1.4 จัดให้มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล70% หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรคในบริเวณพื้นที่บริการต่างๆรวมทั้งห้องสุขา ห้องอาบน้้ำและห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าในปริมาณที่เพียงพอต่อจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
1.5 ทำสัญลักษณ์เว้นระยะห่างของจุดบริการที่มีที่นั่งหรือยืนต่อคิวเช่น จุดรอเข้าห้องน้ำจุดชำระเงิน รอรับบริการ พื้นที่นั่งส่วนกลาง บริเวณที่นั่งพัก และระยะห่างระหว่างการเดิน อย่างน้อย 1 เมตร รวมทั้งระยะห่างของพื้นที่การออกกำลังกาย/ฝึกซ้อม ที่นั่ง อุปกรณ์ และเครื่องออกกำลังกาย อย่างน้อย 2 เมตร หรืออย่างน้อย 1 เมตรในกรณีมีฉากกั้น
1.6 มีการตรวจสอบและจัดการพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อคำนวณจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมให้เป็นไปตามมาตรการลดความแออัดโดยกำหนดจำนวนรวมภายในและโดยรอบสนามแข่งขันไม่เกินกว่า 250 คน หรือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์อื่นๆ ที่ผู้จัดการแข่งขันอาจกำหนดเพิ่มเติม
1.7 จัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันโรคส่วนบุคคลเช่น หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า หรือFace Shield ให้พนักงานทุกคน
1.8 จัดให้มีการระบายอากาศที่เพียงพอกรณีใช้เครื่องปรับอากาศอาจพิจารณาให้มีช่องทางระบายอากาศหรือใช้พัดลมระบายอากาศ เพื่อการหมุนเวียนอากาศที่เพียงพอ โดยระบายอากาศหรือปรับอากาศให้มีอัตราการหมุนเวียนของอากาศอย่างน้อย 10 เท่าต่อชั่วโมง (ACH≥10) รวมทั้งภายในและบริเวณห้องสุขา ห้องอาบน้ำ และห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า
1.9 พิจารณาจัดให้มีกล้องวงจรปิดเพื่อใช้ในการบันทึกภาพการให้และเข้าร่วมกิจกรรมบริเวณต่างๆ รอบสถานที่ เพื่อติดตามการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคส่วนบุคคลของผู้เข้าร่วมกิจกรรมหรือมีระบบแจ้งเตือน (Alert) กรณีพบผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรการสามารถจัดให้มีเจ้าหน้าที่แจ้งผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทันที
1.10 จัดทำป้ายสัญลักษณ์เตือนเพื่อให้นักกีฬาและผู้เข้าร่วมกิจกรรมปฏิบัติหน้าที่อย่างปลอดภัยสอดคล้องกับมาตรการป้องกันโรค
1.11 จำกัดจำนวนผู้ที่สามารถเข้าไปภายในบริเวณสถานที่จัดการแข่งขันได้ไม่เกิน 250คน ประกอบด้วย
– กลุ่มที่ 1 : นักกีฬา, ทีมงานผู้ฝึกสอน, ผู้แทนสมาคมฯ หรือเจ้าหน้าที่จัดการแข่งขัน
1) นักกีฬาของทั้งสองทีม ทีมละไม่เกิน 37คน
2) ทีมงานสตาฟโค้ช เจ้าหน้าที่ทีม หัวหน้าผู้ฝึกสอน ทีมละ 16 คน
3) ผู้แทนสมาคมฯ หรือเจ้าหน้าที่จัดการแข่งขัน ได้แก่ คณะผู้ตัดสิน, ผู้ควบคุมการแข่งขัน,ผู้ประเมินผู้ตัดสิน รวม 6 คน
– กลุ่มที่ 2 : ภายใน และโดยรอบสนามแข่งขัน (Official Area)
1) ผู้ดำเนินการจัดการแข่งขันได้แก่ เจ้าหน้าที่จัดการแข่งขัน พนักงานบริการทั่วไป พนักงานทำความสะอาด เจ้าหน้าที่ดูแลสนามหญ้า เจ้าหน้าที่เทคนิคกีฬา บุคลากรที่เกี่ยวข้องด้านจัดการแข่งขันอื่น ๆ ตามความจำเป็น โดยมีสโมสรเจ้าภาพที่เป็นผู้ดำเนินการจัดการแข่งขันเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมดไม่เกิน 35 คน
2) บุคลากรด้านการรักษาความปลอดภัย ทั้งหมดไม่เกิน 25 คน3) บุคลากรด้านการแพทย์ ทั้งหมดไม่เกิน 20
– กลุ่มที่ 3 : เจ้าหน้าที่ด้านถ่ายทอดโทรทัศน์ และสื่ออื่น ๆ
1) บุคลากรด้านการถ่ายทอดโทรทัศน์และถ่ายทอดผ่านสื่ออื่น ๆ ทีมงานวีดิทัศน์ช่วยการตัดสิน(Video Assistant Referee: VAR) ทั้งหมดไม่เกิน30 คน
2) สื่อมวลชนจากสำนักข่าวต่าง ๆ ทั้งหมดไม่เกิน15 คน
– กลุ่มที่ 4 : ผู้บริหาร และผู้ให้การสนับสนุน
1) ผู้บริหาร และผู้ให้การสนับสนุนสโมสรทั้งหมดไม่เกิน 10 คน
2.การเตรียมความพร้อมในการเข้าร่วมกิจกรรม
2.1 มาตรการคัดกรองอาการป่วย
(1) จัดให้มีการตรวจคัดกรองอาการไข้ไอ หอบเหนื่อย เป็นหวัดสำหรับผู้ประกอบการ พนักงานผู้ฝึกสอน นักกีฬา และผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนก่อนเข้าสถานที่ทั้งนี้ควรมีอุณหภูมิร่างกายไม่เกิน 37.5 องศาเซลเซียสและไม่มีอาการระบบทางเดินหายใจพร้อมติดสัญลักษณ์แสดงการคัดกรอง“ผ่าน” กรณีพบผู้ที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคให้มีแนวทางปฏิบัติในการดูแล หรือแนวทางการส่งต่อผู้ที่มีอาการป่วยที่เหมาะสม รวมทั้งพิจารณาให้มีห้องแยกหรือบริเวณแยก พร้อมรายงานให้หน่วยงานที่รับผิดชอบทราบ
(2) พิจารณาจัดทำแบบสอบถามประวัติเสี่ยง ทะเบียนบันทึกผู้มีอาการป่วยประกอบการปฏิบัติตามมาตรการฯสำหรับผู้ประกอบการ พนักงาน ผู้ฝึกสอน นักกีฬาและผู้เข้าร่วมกิจกรรม
2.2 มาตรการในการป้องกันโรค
(1) พิจารณาจัดให้มีแผนบริหารจัดการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด19 เช่นการเหลื่อมเวลาการควบคุมจำนวนผู้ร่วมกิจกรรมไม่ให้แออัด การทำ ความสะอาดพื้นที่ส่วนรวมและพื้นผิวสัมผัสร่วม
(2) มีระบบจัดการควบคุม เพื่อจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่ให้แออัดโดยจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมหรือนักกีฬาที่ออกกำลังกายหรือฝึกซ้อม ตามเกณฑ์ขนาดพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อย5 ตารางเมตร ต่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม 1 คนและผู้เข้าร่วมกิจกรรมหรือนักกีฬาที่ไม่ได้ออกกำลังกายหรือฝึกซ้อม ตามเกณฑ์ขนาดพื้นที่ให้บริการอย่างน้อย 4 ตารางเมตรต่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม 1 คน โดยถือหลักหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน
(3) พนักงาน ผู้ฝึกสอน และผู้เข้าร่วมกิจกรรมต้องสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย หรือFace Shield ตลอดเวลาลดการพูดคุยที่ไม่จำเป็น โดยใช้น้ำเสียงปกติและไม่ตะโกนไม่เปิดหรือจับหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าโดยรักษาระยะห่างระหว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรม และพนักงานคนอื่น อย่างน้อย 1 เมตร
(4) พนักงาน ผู้ฝึกสอน และผู้เข้าร่วมกิจกรรมต้องล้างมือบ่อยครั้งด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจล 70%หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรครวมทั้งก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรม หรือหยิบจับของใช้ส่วนตัว
(5) พิจารณาพัฒนานวัตกรรมการลงทะเบียนก่อนเข้าและออกจากสถานที่ และระบบจองคิวแบบออนไลน์เพื่อให้บริการรูปแบบใหม่ในระยะยาว
(6) การจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มในบริเวณสถานที่จัดการแข่งขันให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ราชการกำหนด
(7) จัดให้มีการชำระเงินค่าบริการผ่านระบบออนไลน์(e-Payment) หรือ QR Codeผ่านแอปพลิเคชัน หากชำระด้วยเงินสด ต้องไม่สัมผัสมือโดยตรง เช่น การมีถาดรับชำระเงินหรือบัตรเครดิต โดยที่พนักงานรับเงินต้องสวมถุงมืออยู่ตลอดเวลา และต้องมีการล้างมือบ่อยครั้งด้วยแอลกอฮอล์เจล70%
(8) จัดให้มีเจ้าหน้าที่ตรวจตราควบคุม กำกับการให้บริการและการเข้าร่วมกิจกรรมให้เป็นไปตามมาตรการควบคุมหลักอย่างเคร่งครัด
(9) จัดให้มีการสื่อสาร/ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจและแนะนำแนวทางการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันควบคุมโรค ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์รูปแบบต่างๆ เช่นป้ายประชาสัมพันธ์เสียงประชาสัมพันธ์ทั้งมีการอบรมพนักงาน เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม พนักงานและผู้ฝึกสอนปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
2.3 มาตรการทำความสะอาด
(1) พนักงานทำความสะอาด ทุกคนต้องสวมเครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคลได้แก่ หมวกคลุมผม หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า Face Shield ถุงมือยาง ผ้ายางกันเปื้อน รองเท้าพื้นยางหุ้มแข้งขณะทำความสะอาด
(2) ทำความสะอาดอุปกรณ์กีฬาเช่น ลูกฟุตบอล และบริเวณพื้นผิวที่มีการสัมผัสบ่อยๆเช่น ลูกบิดประตูเคาน์เตอร์รับบริการ ราวบันไดอ่างล้างมือโต๊ะ ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าด้วยน้ำยาทำความสะอาดเช่น แอลกอฮอล์70%หรือโซเดียมไฮโปคลอไรด์ 0.1% ทั้งก่อนและหลังให้บริการรวมทั้งซักเสื้อผ้าที่ใช้ในการฝึกซ้อมทุกครั้งหลังให้บริการ
(3) ทำความสะอาดห้องอาบน้ำห้องสุขา โดยเน้นจุดเสี่ยงที่มีผู้สัมผัสมากเช่น ที่จับสายชำระ โถปัสสาวะ ลูกบิดกลอนประตูก๊อกน้ำ ด้วยน้ำยาทำความสะอาด เช่น โซเดียมไฮโปคลอไรด์0.1% แล้วล้างออกด้วยน้ าสะอาดอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง
(4) เพิ่มความถี่ในการทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศโดยกำหนดให้มีการล้างทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศหรือแผ่นกรองอากาศ อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
(5) จัดให้มีถังขยะชนิดมีฝาปิดเพื่อรวบรวมรวมขยะต่างๆ โดยคัดแยกขยะได้แก่ ขยะทั่วไปขยะอันตราย และขยะติดเชื้อ และมัดปากถุงให้แน่นก่อนรวบรวมส่งกำจัดตามหลักสุขาภิบาลทุกวัน
แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม(นักกีฬา ผู้ฝึกสอน ผู้ตัดสิน หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง)
1. การเตรียมตัวก่อนเข้าร่วมกิจกรรม
1.1 กรณีการแข่งขันในรายการกีฬาอาชีพ นักกีฬาต้องผ่านการตรวจโควิด-19 ทางห้องปฏิบัติการแบบบุคคลหรือแบบรวมตัวอย่าง (pooled sample testing)
1.2 หากผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีอาการป่วย ไข้ไอจาม หรือเป็นหวัด ให้งดการไปเข้าร่วมกิจกรรม
1.3 พิจารณาลงทะเบียนเพื่อสมัครเข้าร่วมการแข่งขันหรือจองคิวล่วงหน้าด้วยระบบออนไลน์หรือโทรศัพท์และควรเว้นช่วงที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมากเพื่อลดความแออัดรวมทั้งการชำระเงินค่าบริการผ่านระบบออนไลน์ (e-Payment)หรือ QR Code ผ่านแอปพลิเคชัน หากชำระด้วยเงินสด ต้องไม่สัมผัสมือโดยตรง
1.4 พิจารณาลดการใช้ขนส่งสาธารณะในช่วงเวลาที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมหนาแน่น เพื่อลดความเสี่ยงจากการโดยสารขนส่งสาธารณะระยะเวลานาน รวมทั้งสวมหน้ากากอนามัยและหน้ากากผ้าตลอดเวลาการโดยสารขนส่งสาธารณะ
1.5 ศึกษาคู่มือใช้งานและดาวน์โหลดแอปพลิเคชันที่สามารถใช้สแกน QR Code ก่อนเข้าและออกจากสถานที่ผ่านแอปพลิเคชัน “ไทยชนะ”
1.6 อาจพกแอลกอฮอล์เจล 70% สำหรับทำความสะอาดมือเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ
2. ระหว่างและหลังการเข้าร่วมกิจกรรม
2.1 ลงทะเบียนเข้าและออกจากสถานที่ โดยใช้แอปพลิเคชัน“ไทยชนะ”ด้วยการสแกน QR Code หรือจดบันทึกข้อมูลและรายงานทดแทน
2.2 ให้ความร่วมมือปฏิบัติตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคที่กำหนดตามที่ผู้จัดการแข่งขันแนะนำอย่างเคร่งครัดเพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อ
2.3 ควรตรวจสอบความสะอาดของสถานที่อุปกรณ์และการจัดพื้นที่และที่นั่งก่อนเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อให้เข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างปลอดภัย
2.4 ขณะรอคิวเข้าร่วมกิจกรรมให้เว้นระยะห่างตามจุดหรือสัญลักษณ์ที่ผู้จัดการแข่งขันกำหนด
2.5 นักกีฬาสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าก่อนและหลังการแข่งขันและล้างมือด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล 70% บ่อยครั้ง ทั้งก่อนและหลังการแข่งขัน ส่วนผู้เข้าร่วมกิจกรรมต้องสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา และล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจล 70% บ่อยครั้ง
2.6 ลดการพูดคุยที่ไม่จำเป็นระหว่างเข้าร่วมกิจกรรมหากจำเป็นควรพูดโดยใช้ระดับเสียงปกติและไม่ตะโกน งดเว้นการจับมือโอบกอดแสดงความดีใจ และเลี่ยงไอหรือจามใกล้ผู้อื่นหากมีการไอหรือจามให้ปิดปากและจมูกให้สนิท ทั้งนี้ไม่บ้วนน้ำลายหรือเสมหะและหลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้าโดยไม่จำเป็น
2.7 นักกีฬาทำความสะอาดอุปกรณ์กีฬาส่วนบุคคล ด้วยน้ำยาทำความสะอาดก่อนและหลังใช้งาน
2.8 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมควรแจ้งหน่วยงานที่รับผิดชอบ หากพบว่าการจัดการแข่งขันไม่เป็นไปตามมาตรการป้องกันควบคุมโรค
ลิงค์คู่มือการปฏิบัติตามมาตรการผ่อนปรนกิจการและกิจกรรมด้านการกีฬาเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 (ฉบับที่ ๑)
https://sports.mots.go.th/sport63/download/document_sport.pdf?fbclid=IwAR1QLE3m7qXF0zWVcjdDGNt2989jHwddzncAzQKPzABTmoexFkZo4xyDE18