การตลาด
ชูธุรกิจ RPA ยกระดับการบริการระลอกใหม่ของกระแสดิจิทัล
วันศุกร์ ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2563, 16.11 น.
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่
เอบีม คอนซัลติ้ง เผยธุรกิจ RPA กำลังเติบโต จับมือ UiPath ยกระดับบริการรองรับ “ความปกติใหม่” และระลอกใหม่ของกระแสดิจิทัล
บริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำจากประเทศญี่ปุ่น เผยว่า Robotic Process Automation (RPA) หรือระบบกระบวนการทำงานอัตโนมัติโดย Bot หรือหุ่นยนต์อัจฉริยะมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย โดยทางบริษัทฯ ได้จับมือเป็นพันธมิตรกับ UiPath ผู้นำเทคโนโลยี RPA ระดับโลก มาตั้งแต่ปี 2561 และยกระดับบริการด้าน RPA ของเอบีม ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการปรับระบบกระบวนการทางธุรกิจด้วยการผสมผสานเครื่องมือจาก UiPath โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ ทางบริษัทฯ ยังได้รับรางวัล “พันธมิตรแห่งปีด้านผลการดำเนินงานรวมในประเทศไทย” หรือรางวัล “Partner of the Year 2019 award: Best Overall Performance in Thailand” จาก UiPath ด้วย ทั้งนี้ ธุรกิจด้านการให้บริการ RPA ของเอบีมในประเทศไทยมีมูลค่าพุ่งสูงขึ้นกว่าเท่าตัวในปี 2562 และคาดว่าความต้องการในการใช้บริการด้าน RPA จะสูงขึ้นในปีนี้ หลังจากเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เอบีมเล็งเห็นว่าในปี 2563 นี้ เทคโนโลยี RPA จะมีบทบาทสำคัญในหลากหลายแวดวงธุรกิจอย่างแน่นอน เพราะองค์กรธุรกิจต่างถูกกระตุ้นให้เรียนรู้และนำ RPA มาใช้งานเพื่อรองรับ New Normal หรือความปกติใหม่ ของทั้งผู้บริโภคและภาคธุรกิจ ตลอดจนเพื่อความพร้อมรับมือกับกระแส Disruption ระลอกใหม่ในอนาคต
นายอิชิโร ฮาระ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทที่ปรึกษาระดับโลก ซึ่งเป็นผู้ให้บริการที่มีความเชี่ยวชาญด้านการปรับเปลี่ยนองค์กรธุรกิจในรูปแบบดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชัน ในเครือบริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง จำกัด ประเทศญี่ปุ่น เปิดเผยว่าเมื่อปี 2562 เอบีมได้จัดทำการวิจัยเป็นการภายใน เกี่ยวกับ RPA ของประเทศไทย และพบว่ามีหลายบริษัทให้ความสนใจในการนำ RPA มาใช้ในธุรกิจ เมื่อพิจารณาจากตัวเลข รายได้ของเอบีมที่พุ่งสูงกว่าเท่าตัวในปี 2562 สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่าภาคธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธนาคารและบริษัทประกันตอบรับบริการ RPA เป็นอันมาก การเป็นพันธมิตรที่แน่นแฟ้นกับ UiPath ซึ่งเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี RPA ช่วยส่งเสริมให้เอบีมมีศักยภาพในการให้บริการ RPA เพื่อการรองรับตลาด RPA ที่กำลังเติบโตอย่างเต็มศักยภาพ
“บริษัทผู้ให้บริการงานวิเคราะห์ชั้นนำต่างยกย่องว่า UiPath คือ ผู้นำด้านซอฟท์แวร์ RPA ที่มีความสามารถมากที่สุดในระดับโลก โดยเอบีมเลือกจับมือกับ UiPath เพื่อส่งมอบโซลูชันรองรับดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันหรือการปรับองค์กรเข้าสู่ยุคดิจิทัลแบบผสมผสานเทคโนโลยี RPA ความร่วมมือระหว่างเอบีมและ UiPath เปิดทางให้ศักยภาพการให้คำปรึกษาด้าน RPA ของเอบีมเพิ่มสูงขึ้น โดยสามารถสนับสนุนงานการปรับระบบกระบวนการทางธุรกิจให้แก่ลูกค้าด้วยเครื่องมือ RPA ของ UiPath ผลงานด้านโซลูชัน RPA ของเอบีมโดดเด่นได้รับการตอบรับจากลูกค้าอย่างกว้างขวางจนเอบีมได้รับรางวัลในฐานะ “พันธมิตรดีเด่นของ UiPath” หรือรางวัล “Partner of the year 2019” ในหมวดผลการดำเนินงานรวมในประเทศไทยจาก UiPath โดยเอบีมเป็นพันธมิตรรายเดียวที่ได้รับรางวัลนี้แม้ว่า UiPath จะมีพันธมิตรกว่า 50 รายในประเทศไทย” นายฮาระกล่าว
โกฮ์ เวง ฮิม ผู้อำนวยการ ฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์ ภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า เอบีมมีความมุ่งมั่นอย่างมากในการช่วยลูกค้าให้ได้รับประโยชน์จากการทำงานแบบอัตโนมัติ ด้วยการลงทุนด้านบุคลากรและอบรมทีมงานในประเทศไทย เพื่อการมีบุคลากรที่ดีที่สุดในการส่งมอบโครงการที่โดดเด่นจากการใช้แพลตฟอร์ม RPA ของ UiPath ซึ่งสร้างผลลัพธ์ที่ประสบความสำเร็จให้กับลูกค้าที่เรามีร่วมกัน บริษัทฯ ภูมิใจที่ได้เป็นพันธมิตรกับเอบีม ผ่านความพยายามในการช่วยองค์กรต่าง ๆ พร้อมกับความคิดริเริ่มด้านการทำงานแบบอัตโนมัติของเอบีม
เทคโนโลยี RPA สามารถสนับสนุนการทำงานขององค์กรในหลายแวดวงอุตสาหกรรมเพราะ RPA เป็นเทคโนโลยีที่เปิดทางให้ผู้ใช้งานทุกคนสามารถตั้งค่าซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์หรือซอฟท์แวร์หุ่นยนต์มาทำหน้าที่ทดแทนมนุษย์ โดย RPA สามารถเลียนแบบและบูรณาการการกระทำของมนุษย์ในการมีปฏิสัมพันธ์กับระบบดิจิทัล เพื่อขับเคลื่อนกระบวนการทางธุรกิจได้ หุ่นยนต์ RPA โต้ตอบกับระบบต่อประสาน (user interface) เพื่อจัดการข้อมูลและแอปพลิเคชันได้เช่นเดียวกับที่มนุษย์ทำ พร้อมตีความ ออกคำสั่ง และสื่อสารกับระบบอื่นๆ เพื่อการทำงานที่ต้องทำซ้ำ ๆ หลากหลายรูปแบบโดยไม่ต้องหยุดพักผ่อน อีกทั้งยังไม่มีข้อผิดพลาดด้วย
ในช่วงวิกฤติโควิด-19 เทคโนโลยี RPA ได้ก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลากหลายแวดวงธุรกิจ เพราะการปรับระบบกระกวนการทางธุรกิจด้วยระบบอัตโนมัติถือเป็นเทรนด์ที่มาแรง องค์กรธุรกิจเล็งเห็นว่า RPA ช่วยส่งเสริมกิจการในหลายด้าน อาทิ การพัฒนากระบวนการทำงาน การส่งมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่ลูกค้า การยกระดับการให้บริการ และการลดต้นทุน ยกตัวอย่างเช่น องค์กรธุรกิจสามารถใช้ RPA จัดการปริมาณข้อร้องเรียนที่เพิ่มสูงขึ้นเกี่ยวกับความท้าทายด้านการเงิน โดยมีหุ่นยนต์ส่งจดหมายถึงลูกค้าได้อัตโนมัติ เพื่อแจ้งให้ทราบว่าได้รับข้อร้องเรียนแล้ว ตลอดจนมีการจับคู่ข้อมูลลูกค้ากับข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยอัตโนมัติ เพื่อทำการสื่อสารให้ลูกค้าทราบข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ส่งเสริมการปฏิบัติตามเงื่อนไข และช่วยป้องกันมิให้ลูกค้าเสียค่าปรับได้
“นับตั้งแต่นี้ไป ความปกติใหม่จะเกิดขึ้นกับทุกแวดวงธุรกิจ จากการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค องค์กรธุรกิจไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือใหญ่จึงควรเรียนรู้และเปิดรับ RPA เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจ โดยอาจเริ่มต้นด้วยการนำเทคโนโลยี RPA ไปใช้จัดการปริมาณธุรกรรมที่มีเป็นจำนวนมาก หรืองานที่ต้องทำซ้ำ ๆ อยู่ตลอด อาทิ การป้อนข้อมูล การประมวลข้อมูล การกระทบยอด หรือการจัดทำรายงานในหน่วยสนับสนุนธุรกิจ RPA คือเครื่องมือสำหรับรับมือกับความปกติใหม่ ตลอดจนการเตรียมพร้อมกับกระแส Disruption ระลอกใหม่ในอนาคต” นายฮาระกล่าวสรุป
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่