การสร้างหน้าร้าน สิ่งหลัก ๆ ที่ต้องคำนึกถึงคงจะหนีไม่พ้นการเลือก ทำเลที่มีโอกาสที่จะเข้าถึงลูกค้าดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยที่เราจะเห็นร้านต่าง ๆ อยู่ติดกับถนนเพราะมีโอกาสเข้าถึงลูกค้าได้สูงกว่าการเปิดหน้าร้านในพื้นที่เข้าถึงยาก
“ยุคสมัยเปลี่ยน สภาพแวดล้อมเปลี่ยน พฤติกรรมผู้บริโภคก็เปลี่ยน”
คุณภคศุภ เพ็ชรดี ประธาน กรรมการ บริษัท ดิจิมัสเกตเทียส์ จำกัด ผู้ประกอบการธุรกิจดิจิตอลมาร์เก็ตติ้ง การตลาดออนไลน์ยุค 4.0 กล่าวว่า “ธุรกิจยุค 4.0 เป็นยุคที่ผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการซื้อได้ในทุกวินาที ธุรกิจควรเพิ่มช่องทางที่พร้อมปรับตามสถานการณ์โลกได้อย่างทันท่วงทีอย่าง Digital Marketing เพื่อเตรียมพร้อมรับกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคทั้งปัจจุบันและอนาคต”
ในยุคเทคโนโลยีสารสื่อสารพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เว็บไซต์ ก็เปรียบได้เหมือน หน้าร้านในโลกออนไลน์ ที่ตั้งอยู่ในทำเลทองใจกลางเมือง ผู้คนสัญจรไปมาอย่างคับคั่ง จากสถิติ ประชากรในโลกออนไลน์มีอัตตราเติบโตสูงขึ้นอย่างมีนัยยะ ถึง 4,540 คนหรือคิดเป็น 59% ของประชากรโลก (ข้อมูลจาก datareportal.com) ที่น่าสนใจพฤติกรรมผู้บริโภคหลังจากเกิดการ Lockdown ทั่วโลก มียอดการซื้อขายผ่าน E-Commerce เพิ่มขึ้น โดยครึ่งปีแรกมีรายได้ประมาณการสูงถึง 2.4 ล้านล้านบาท (statis.com)
- “อ.ธรณ์” แจง หอยแมลงภู่เกลื่อนหาดจอมเทียน ไม่ใช่ภัยพิบัติ เตือนหอยอาจมีเชื้อโรค
- คนร้ายดักยิงสองพี่น้องเซียนไก่ชนเสียชีวิต 2 ราย
- ธารน้ำใจ ทยอยเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ.เลย
พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน เมื่อพูดถึงการซื้อของออนไลน์ในอดีตย้อนไปสัก 10 ปี การซื้อของผ่านอินเทอร์เน็ตเป็นเรื่องที่ใหม่มาก ๆ ในโมเดลยุคแรก ๆ ที่สร้างภาพจำให้การซื้อของผ่านช่องทางออนไลน์จะเป็นโมเดล C2C ที่มีขั้นตอนการซื้อ-ขาย ที่ไม่มีตัวกลางคอยช่วยดูแล ภาพลักษณ์การซื้อของผ่านช่องทางออนไลน์ในช่วงนั้น จึงดูค่อยไม่ปลอดภัยสักเท่าไหร่ ในยุคถัด ๆ มาเมื่อธุรกิจต่าง ๆ เริ่มหันมาเพิ่มช่องทางการขายผ่านเว็บไซต์ (B2C) ภาพลักษณ์ของการซื้อของออนไลน์ก็ดีขึ้นตามลำดับ จากเหตุการณ์ Lockdown เมื่อต้นปี 2020 ทำให้ผู้คนเริ่มหันมาใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ภาพความทรงจำเดิม ๆ ค่อย ๆ ถูกแทนที่ด้วยความสะดวก ความรวดเร็ว และตัวเลือกที่มีให้เปรียบเทียบอย่างมหาศาล
แต่ไม่ว่า เทคโนโลยีจะพัฒนาอย่างก้าวกระโดดเพียงใด ก็ยังไม่สามารถแทนความสามารถจาก Human Skill ที่คอยช่วยบริการ + โน้มน้าวเสริมการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคได้ นักการตลาดจึงพยายามหาทางแก้ไข และพัฒนาเครื่องมือต่าง ๆ มาตอบโจทย์ความต้องการด้าน Personal Shopper
ในปัจจุบันใช้ฟังก์ชั่น Chat and Shop เป็นตัวช่วยใช้ในการโต้ตอบกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ฟังก์ชั่นนี้จะเป็นเหมือนผู้ช่วยที่สามารถแนะนำสินค้าที่แม็ชต์กับความต้องการของลูกค้าได้ อีกทั้งยังสามารถถ่ายรูปหรือถ่ายวิดีโอสินค้าในมุมต่าง ๆ ให้ลูกค้าดูแบบ Realtime เพื่อตอบโจทย์ด้านความมั่นใจต่อผู้บริโภคที่มีต่อตัวสินค้าว่าสินค้ามีคุณภาพจริงภาพตรงปกตามที่ต้องการ
อีกหนึ่งเครื่องมือที่เรียกได้ว่ามาแรงไม่แพ้ Chat and Shop คือระบบ Live Stream ขายสินค้าจริง ๆ โมเดลนี้หลายคนอาจคุ้นชินตามาบ้างกับประโยค “มันดีมากเลย จอร์ช, มันเยี่ยมมากเลยล่ะ ซาร่า” เป็นรูปแบบรายการทีวีขายสินค้า แต่แตกต่างกันที่ Live Stream เป็นการสื่อสารแบบสองทางที่ผู้บริโภคสามารถ โต้ตอบกับผู้ขายได้ วินาทีต่อวินาทีเลยทีเดียว ในจุดนี้ก็สามารถนำมาต่อยอดในการทำการตลาดได้หลายอย่าง อาทิ โชว์ฟังก์ชั่นการใช้งานสินค้าแบบ Realtime การปิดการขายด้วยการพูดโน้มน้าว หรือแม้แต่สร้างเกมส์กิจกรรม ร่วมเล่นกับผู้ชมก็ย่อมได้
“Website หน้าร้านที่สามารถปรับแต่งได้ตามใจนึก”
อีกหนึ่งข้อดีของเว็บไซต์ที่นอกเหนือจากเป็นหน้าร้านของเราในโลกออนไลน์แล้ว เว็บไซต์ยังสามารถออกแบบฟังก์ชั่นได้อย่างฟรีสไตล์ ทำให้สามารถตอบโจทย์ได้ทุกความต้องการของธุรกิจ อีกทั้งยังสามารถนำมาประยุกต์ให้เข้ากับ OMO (Online Merge Offlne) อย่างระบบจองคิว + รันคิว ที่ตอบโจทย์ธุรกิจร้านอาหาร เกมส์ที่พัฒนาโดย SpaceX ที่ให้เราได้เปิดประสบการณ์ ลองขับยานอวกาศเล่น เป็นต้น
“การดึงคนเข้าเว็บไซต์ ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นกัน”
การสร้าง Traffic ให้คนเข้าเว็บไซต์เปรียบคล้ายการสร้างถนนใหญ่ให้ตัดผ่านหน้าร้าน ในขณะเดียวกัน ถ้าเราเตรียมพื้นที่ร้านไม่เพียงพอต่อจำนวนลูกค้า ทุกอย่างก็จะพังทลายลงในพริบตา
ดังนั้นการเตรียม Server ให้รองรับต่อจำนวนผู้ที่จะเข้าถึงเว็บไซต์ในอนาคต ก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน แต่ในกรณีที่ลูกค้าเข้ามาเยอะ แต่ปิดการขายไม่ได้ ในส่วนนี้มีหลายปัจจัย
ในด้านของการทำการดึง Traffic ให้คนเข้ามาในเว็บไซต์ที่ดีนั้น ต้องอาศัยการวิเคราะห์ Insight รวมกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์เสียก่อน หากเราดึงกลุ่มคนสนใจเนื้อหามาผิดกลุ่ม ถ้าอธิบายให้เห็นภาพเป็นเหมือนการดึงคนที่ต้องการซื้อดอกกุหลาบสีขาว ให้มาเข้าเว็บไซต์ที่ขายแต่ดอกกุหลาบสีแดง แน่นอนว่าเขาอาจจะเข้ามาดูแต่ท้ายที่สุดเขาก็ไม่ตัดสินใจซื้ออยู่ดีเพราะว่าตัวผลิตภัณฑ์บนเว็บไซต์ของเราไม่ตอบโจทย์ความต้องการของเขา ช่องทางการ ดึงคนเข้าเว็บไซต์มีหลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นการทำ SEO, SEM หรือเป็นการใช้ Social Media เปิดประตูให้ผู้คนเข้ามาในเว็บไซต์ ซึ่งช่องทางแต่ละช่องทางก็มีจุดเด่นจุดด้อยและวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างในกลุ่ม Social Media อย่าง Youtube หรือ Twitter จะเป็นกลุ่มลูกค้า Awareness กลุ่ม Brand Recall อาจจะมาจาก SEO/SEM เป็นต้น
สรุปเว็บไซต์เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่สามารถรองรับให้กลุ่มลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ ที่มาจากทั่วโลกออนไลน์ได้ นอกจากสามารถปรับแต่งได้ทุกตามความต้องการแล้ว เว็บไซต์ที่ดีจะสามารถช่วยเรื่องของ Man Power ให้พวกเขาสามารถจดจ่อกับการใช้ Human Skill เพื่อช่วยการปิดการขายได้ดียิ่งขึ้น
การสร้างเว็บไซต์เพียงอย่างเดียว ไม่ได้เป็นการการันตีว่าเป็นช่องทางที่ลูกค้าจะวิ่งเข้าหาคุณ สิ่งที่สำคัญคือต้องเข้าใจถึงพฤติกรรมและที่อยู่ของผู้บริโภค จากนั้นค่อยสร้างถนนใหญ่เชื่อมให้พวกเขาวิ่งตรงเข้ามาสู่หน้าร้านคุณ เพียงเท่านี้ธุรกิจของคุณก็จะสามารถเพิ่มช่องทางให้กลุ่มลูกค้าจำนวนมหาศาลวิ่งพุ่งตรงมาสู่หน้าร้านออนไลน์ของคุณได้ทุกเสี้ยววินาที
บริษัท ดิจิมัสเกตเทียส์ เราเชี่ยวชาญด้าน Digital Marketing (การตลาดออนไลน์) เรามีทีมงานที่สามารถช่วยวางแผนกลยุทธ์พร้อมลงมือ ช่วยให้ธุรกิจของคุณโลดแล่นอยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์
เรามีทีมงานที่มีประสบการณ์การทำการตลาดออนไลน์เฉพาะด้านมากกว่า 10 ปี ไม่ว่าจะเป็น SEO, SEM, ยิงโฆษณาผ่านช่องทางออนไลน์, ออกแบบ พัฒนาเว็บไซต์, Creative Content Marketing
หากคุณต้องการให้เพิ่มช่องทางเติบโตให้ธุรกิจด้วยการตลาดออนไลน์ ติดต่อเรา
บริษัท ดิจิมัสเกตเทียส์ โทร 02-047-0088 เว็บไซต์ digimusketeers.co.th
Line : @digimusketeers
เรื่องโดย Nation TV | ภาพโดย Nation TV